การศึกษาภาคบังคับ

tecnology

tecnology

ที่มา: http://suwan2.blogspot.com/2009/09/blog-post.html

 

     การศึกษาภาคบังคับ

เป็นกฎหมายกำหนดให้เยาวชนได้รับการศึกษา และภาครัฐจะต้องจัดหาให้ ในประเทศบางประเทศ การศึกษาที่บ้าน อาจเป็นไปอย่างถูกกฎหมายการศึกษาภาคบังคับที่โรงเรียนประถมศึกษา ได้ถูกอนุมิตให้เป็นสิทธิมนุษยชนใน การประกาศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากลพ.ศ. 2491 ประเทศต่าง ๆ ในโลกส่วนใหญ่ขณะนี้ได้มีการศึกษาภาคบังคับ อย่างน้อยในระดับประถมศึกษา และมีหลายครั้งที่มีการขยายออกไปถึง มัธยมศึกษา

ประโยชน์

การศึกษาภาคบังคับมีประโยชน์ดังนี้

  • ก่อนที่จะมีการศึกษาภาคบังคับ เด็ก ๆ บางครั้งเรียนรู้ทักษะอาชีพของผู้ปกครองของพวกเขา การศึกษาภาคบังคับแนะนำงานอาชีพอื่น ๆ ที่เด็ก ๆ สามารถเรียนได้ ตัวอย่างเช่น ชั้นเรียนคณิตศาสตร์ นำพาเด็ก ๆ ไปสู่อาชีพที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ ชีววิทยาสามารถนำพาเด็ก ๆ ไปสู่อาชีพทางด้านการแพทย์ได้ เป็นต้น
  • ขัดขวางการใช้แรงงานเด็ก
  • ลดจำนวนกลุ่มเด็กอันธพาลตามท้องถนน โดยที่แย่งเวลาส่วนใหญ่ของเวลาว่างของเด็ก นี่คือการช่วยลดปัญหาสังคมด้วย
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

การบริหารงานวิชาการ

ความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ

                งานวิชาการเป็นงานที่มีความสำคัญในการจัดระบบงานให้รัดกุม  และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ฉะนั้น  จึงมีนักการศึกษาได้ให้ความสำคัญของงานวิชาการไว้ดังนี้

                งานวิชาการเป็นหัวใจของโรงเรียน  เป็นชีวิตจิตใจของสถาบันทีเดียว ส่วนงานด้านอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สถาบันดำเนินไปด้วยความราบรื่นเท่านั้น(พนัส  หันนาคินทร์,2524 : 235) ผู้บริหารการศึกษา ทุกคนควรจะรับผิดชอบเป็นผู้นำของครูในด้านวิชาการเป็นอันดับแรก  เพราะหน้าที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกแห่ง คือ  การให้ความรู้แก่นักเรียนในด้านวิชาการ  โดยการทำงานร่วมกับครู  กระตุ้นเตือนครูให้คำแนะนำครู  และประสานงานให้ครูทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในการสอน(ภิญโญ  สาธร, 2526 : 232 )  งานวิชาการเป็นงานหลักของการบริหารสถานศึกษา  ไม่ว่าสถานศึกษาจะเป็นประเภทใด  มาตรฐานและคุณภาพของสถานศึกษาจะพิจารณาได้จากผลงานด้านวิชาการ  เนื่องจากงานวิชาการเกี่ยวข้องกับหลักสูตร  การจัดโปรแกรมการศึกษา  และการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องทางตรงหรือทางอ้อม ก็อยู่ที่ลักษณะของงานนั้น(ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์, 2535 : 15 )

                สมิธ (Smith,1961) ได้ศึกษาและจัดลำดับความสำคัญของงานวิชาการไว้เป็นอันดับแรกงานในความรับผิดชอบของผู้บริหารแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้

                งานบริหารงานวิชาการ                                     ร้อยละ 40

                งานบริหารบุคลากร                                           ร้อยละ 20

                งานบริหารกิจการนักเรียน                                ร้อยละ 20

                งานบริหารการเงิน                                             ร้อยละ 5

                งานบริหารอาคารสถานที่                                  ร้อยละ 5

                งานบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน                     ร้อยละ 5

                งานบริหารทั่วไป                                                ร้อยละ 5

                ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า   งานวิชาการถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารการศึกษา เพราะจุดมุ่งหมายของสถานศึกษาก็คือ  การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ  ซึ่งขึ้นอยู่กับงานวิชาการทั้งสิ้น  งานวิชาการเป็นกิจกรรมการจัดการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้  แบบเรียน  งานการเรียนการสอน  งานสื่อการเรียนการสอน  งานวัดผลและประเมินผล  งานห้องสมุด  งานนิเทศการศึกษา  งานวางแผนการศึกษา  และงานประชุมอบรมทางวิชาการ  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

                จะเห็นได้ว่าการบริหารงานวิชาการนับเป็นงานที่สำคัญของโรงเรียน  เป็นหน้าที่หลักของโรงเรียน ถือเป็นหัวใจของการบริหารโรงเรียน  โรงเรียนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับงานวิชาการของโรงเรียน ที่จะสร้างนักเรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้  มีจริยธรรม  และคุณสมบัติตามที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมต่อไปได้เป็นอย่างดี

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

การสร้างสื่อการเรียนการสอน

ความหมายของสื่อการสอน

นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย ดังเช่น

      ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
      บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน….

….นักการศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของสื่อการสอนไว้หลากหลาย เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนออกโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังต่อไปนี้
 
….1. ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน….
– ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
– ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
– ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
– ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
– ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
– ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
– ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
….2. ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน….
– ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอน
– ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจ
– ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอน
– กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

 

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การว่างแผนบริหารการศึกษาการวางแผนหลักสูตร แนะแนวและบริการ รวมถึงการทดสอบและการพัฒนาบุคลากร โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่นำมาประยุกต์ เช่นระบบสารสนเทศในการสอน การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม การจัดระบบฐานข้อมูลทางการศึกษา เป็นต้น

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการศึกษามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การสอน เทคโนโลยีสารสนเทศก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษามากขึ้น และในแผนพัฒนาเศรษฐ์กิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่4 (2520-2524)ก็เป็นการมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น ในปี พ.ศ.2522ก็ได้มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น และในปี พ.ศ.2526 ก็ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏฺบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น จากนั้นในแผนแผนพัฒนาเศรษฐ์กิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ก็ได้มีการเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงจัดสร้างแผนการหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ที่อยู่ในแผนที่9

 

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
   3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
   4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
   5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ       


 

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/80

ความหมาย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

ความสำคัญ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ” ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่
ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้น)

ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปีแล้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเป็นเครื่อง IBM 1401 ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจัดทำสถิติและสัมมโนประชากร ต่อมา พ.ศ. 2527 รัฐบาลได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจัดหาคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้ยุบคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ มีความคล่องตัวในการจัดหาคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และนิยมใช้แพร่หลายขึ้น พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ 7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4
(พ.ศ. 2520-2524) รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม เข้ามาใช้ในการจัด การพัฒนา และเผยแพร่สารสนเทศให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ภายใต้การประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ การดำเนินการด้านนี้กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้
1. พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น ได้นำระบบ Mainframe มาใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และขยายเครือข่าย On-line ไปยังกรมต่างๆ ในสังกัด 14 กรม รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดหาอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานศึกษาธิการในระดับเขตการศึกษา ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
2. ศูนย์สารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย มีระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ Mainframe และ Mini Computer และไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการวางแผนและการบริหารกิจกรรมในทบวงมหาวิทยาลัย
3. สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารการเรียนการสอน การทะเบียน การวิจัย และประเมินผล รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันต่างๆ เช่น เครือข่าย Internet ไทยสาร CUNET และ PULINET
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา รับผิดชอบในการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

การพับหัวใจ

การพับหัวใจ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

wordpress

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

โคมไฟขวด

โคมไฟขวด ลดโลกร้อน

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

การถักผ้าพันคอ

การถักผ้าพันคอ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ความรัก

ความรักเป็นสิ่งสวยงาม

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น